ซับน้ำตาลูกหนี้บัตรเครดิต ออมสิน ปรับโครงสร้างหนี้ช่วยวิกฤติโควิด-19

sassy-now 12/03/2020 12:58 น.
ซับน้ำตาลูกหนี้บัตรเครดิต-ออมสิน-ปรับโครงสร้างหนี้ช่วยวิกฤติโควิด-19

สศค.แจ้งคนเป็นหนี้บัตรเครดิตให้ไปปรับโครงสร้างหนี้กับออมสิน จะได้ผ่อนน้อย ดอกถูก ไม่ต้องเสียค่าปรับ เผยมาตรการเศรษฐกิจสู้โควิด-19 ชุดแรกช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ถึงเดือน เม.ย. รีบให้หน่วยงานเสนอโครงการ ขอใช้เงินกองทุน 2 หมื่นล้าน ผู้ประกอบการรายใดยังไม่พอ ให้เสนอแนวทางเพิ่มเติมเข้ามาได้ กรมสรรพากรเก็บรายได้ปีงบ 63 หลุดเป้า 1.65 แสนล้านบาท


นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ถือว่ามีผลในวงกว้างทั้งภาคการบริการ การท่องเที่ยว การผลิต ซึ่งมาตรการที่กระทรวงการคลังออกมาดูแลเศรษฐกิจที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเมื่อวันที่ 10 มี.ค.ถือเป็นมาตรการที่ครอบคลุมดูแลทุกภาคส่วน เป็นการเติมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ ขณะที่ประชาชนที่ติดหนี้บัตรเครดิต หากผิดนัดชำระจะเสียดอกเบี้ยสูงถึง 18% จึงขอให้ไปปรับโครงสร้างหนี้เพื่อเป็นลูกค้าของธนาคารออมสินได้ โดยจะได้ดอกเบี้ยที่ต่ำลง และยืดเวลาการชำระหนี้ให้ รวมทั้งผ่อนชำระในวงเงินที่ต่ำลง


ขณะเดียวกัน ได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ โดยมีวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำพิเศษ (ซอฟต์โลน) มากถึง 150,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 2% ถือว่าเป็นวงเงินที่มากและดอกเบี้ยต่ำที่สุดเท่าที่เคยมี และมีการจำกัดการปล่อยกู้รายละไม่เกิน 20 ล้านบาท เพื่อให้สินเชื่อมีการกระจายตัวทั่วถึงไปยังผู้ประกอบการ และให้เป็นวงเงินเสริมสภาพคล่องจริงๆ ส่วนผู้ประกอบการที่ต้องการขยายกิจการก็สามารถไปใช้อีกสินเชื่ออีกวงเงินที่เคยรวบรวมเสนอ ครม.รวม 123,000 ล้านบาท ที่คิดดอกเบี้ย 4% ได้


“การหักลดหย่อนภาษี ณ ที่จ่ายจาก 3%เหลือ 1.5% ส่วนที่ว่ากันว่าสุดท้ายก็ต้องไปจ่ายปลายปีอยู่ดีก็เพราะอยากช่วยเสริมสภาพคล่องในช่วงนี้ และกรณีให้นายจ้างในธุรกิจเอสเอ็มอีนำค่าจ้างลูกจ้างไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือนต่อคน ตั้งแต่เดือน เม.ย.-ก.ค.นี้ ไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ 3 เท่า ที่ถูกวิจารณ์ว่าไม่ได้ช่วยรายเล็ก เพราะปีนี้ธุรกิจรายเล็กคงไม่มีกำไรเรื่องนี้ การที่ผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่มีการเลิกจ้างถือว่าดีที่สุดแล้ว และถ้าเห็นประเด็นใดที่ต้องการให้ปรับมาตรการให้เหมาะสมมากขึ้น หรือเสริมมาตรการต่างๆเพิ่มเติมให้เสนอมาได้”


สำหรับมาตรการที่ออกมารอบนี้ สศค.มั่นใจว่าจะสามารถดูแลเศรษฐกิจได้ถึงสิ้นสุดเดือน เม.ย.นี้ และหากการระบาดของโรคโควิด-19 มีสถานการณ์ที่ดีขึ้นหลังจากเดือน เม.ย. ก็จะเข้าสู่การวางมาตรการฟื้นฟูเพื่อให้เศรษฐกิจในครึ่งปีหลังฟื้นตัวขึ้น


“มาตรการที่ออกมาถือว่าครอบคลุม และคิดจากการรับฟังความคิดเห็นทุกๆฝ่ายทั้งธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีข้อมูลของลูกค้าที่ต้องการสินเชื่อ และมีการรับฟังความต้องการของผู้ประกอบการเอกชน”


ขณะที่วงเงินที่รัฐบาลได้เตรียมไว้อีก 20,000 ล้านบาท จะเปิดโอกาสให้กระทรวงต่างๆทำโครงการเข้ามาเสนอในการขอใช้งบ โดยเน้นลดผลกระทบจากการปิดกิจการ, ช่วยเหลือแรงงานที่ไม่มีสวัสดิการ หรือการฝึกฝีมือ, เพิ่มทักษะในการทำงานให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นส่วนเพิ่มจากที่ ครม.อนุมัติไป 14 มาตรการก่อนหน้านี้ โดยให้เร่งจัดทำข้อเสนอโครงการภายใน 1 สัปดาห์


นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมได้รับมอบหมายให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ในปีงบประมาณ 2563 กรมจะสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีรวม 165,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจัดเก็บได้รวมเพียง 2.115 ล้านล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.116 ล้านล้านบาท


นายสุพันธ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า มาตรการที่รัฐบาลออกมาช่วยเหลือเยียวยาเศรษฐกิจถือว่าน่าพอใจเพราะสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการในระยะสั้นได้ ส่วนมาตรการในระยะต่อไปอาจต้องเพิ่มการช่วยเหลือในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภัตตาคาร ร้านอาหาร สายการบินให้มากขึ้นเพราะเป็นธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด และขอให้รัฐบาลดูสถานการณ์และระดับการแพร่ระบาดว่าควรจะออกมาตรการที่เหมาะสมอย่างไรเป็นระยะๆ

 

 


ขอบคุณที่มา : www.thairath.co.th

ADS

สล็อตเว็บตรง

https://injuredathletes.org/

สล็อตเว็บตรง

สล็อตเว็บตรง

https://track21houston.com/

สล็อตเว็บตรง